ก้อเปงด้ายแค่คนไม่เอานั๋ย

ก้อเปงด้ายแค่คนไม่เอานั๋ย

โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น

จัดทำโดย...
1.นางสาวกิ่งกาญจน์  กาลธิโร  เลขที่  20
2.นางสาวชญานี  บัวทอง  เลขที่  22
3.นางสาวนุชนาถ  สุวรรณมุณี  เลขที่  25
4.นางสาวรัชชฎาภรณ์  มุตตาหารัช  เลขที่  26
5.นางสาวปิยเนตร  บัวผุด  เลขที่  47
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน...อาจารย์การุณย์  สุวรรณรักษา

บทคัดย่อ
        ภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่จะมีบทบาทในการดำเนินชีวิต  วิถีชีวิต  ความเป็นอยู่ของคนเราเป็นอย่างมาก  ภูมิปัญญาก็เปรียบเหมือนการกระทำเพื่อเลี้ยงชีพของคนในพื้นที่นั้นๆ กระทำกันอยู่เป็นประจำจึงเกิดความเคยชินและติดเป็นนิสัยและมีการถ่ายทอดกันเป็นรุ่นๆ คือตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน  ภูมิปัญญาท้องถิ่นจำเป็นมากในการอนุรักษ์ให้คงอยู่เพื่อเป็นมรดกให้ลูกหลานได้รู้ว่าสมัยก่อนบรรพบุรุษได้สร้างสิ่งที่มีคุณค่าให้ลูกหลานได้ดู  ได้รู้  และได้ทำ  การนำเชือกกล้วยมาประดิษฐ์เป็นภาชนะใช้สอยต่างๆ  ก็เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านหัวควาย  ตำบลคูเต่า  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  ที่ควรอนุรักษ์ไว้อีกอย่างหนึ่งเพราะเชือกกล้วยสามารถสร้างอาชีพ  สร้างรายได้และเป็นสินค้า  OTOP  ที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านและได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง   การทำโครงงานนี้เริ่มจากการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เราสนใจ  หาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  นำข้อมูลมาวิเคราะห์และลงมือปฏิบัติจนมีผลงานที่น่าประทับใจ  ออกมาเป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชือกกล้วย

กิตติกรรมประกาศ
       โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง เชือกกล้วยหรรษาสำเร็จด้วยความกรุณาจาก นางเปียน  จินดาวงศ์  ชาวบ้านหัวควาย  หมู่ที่  9  ตำบลคูเต่า  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  ที่ได้มาเป็นผู้สอน  ผู้ชี้แนะ  ผู้สนับสนุน  ในการสานเชือกกล้วยนี้และได้ให้ความรู้ถึงกระบวนการวิธีทำต่างๆ  เพื่อเป็นความรู้แก่ข้าพเจ้า  เพื่อนๆ และผู้ที่สนใจ  ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง  และขอกราบขอบพระคุณ  อาจารย์การุณย์  สุวรรณรักษา  อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้กรุณาข้อคิดเห็นในการนำข้อมูลที่ได้ทำโครงงานนี้นำไปเผยแพร่ลงใน Blogger เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขโครงงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ที่ศึกษาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

คณะผู้จัดทำ


เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ต้นกล้วย

การปลูก ต้นกล้วย ด้วยหน่อ   ที่ขุดแยกออกมาจากต้นแม่ ควรเลือกหน่อที่สมบูรณ์ แต่ยังไม่สูงนักเลือกหน่อ กล้วยที่ใบเล็ก ๆ เรียว ที่เรียกว่าหน่อใบดาบ ซึ่งจะสูงประมาณ 2-3 ฟุต เพราะถ้าใช้หน่อที่โตเกินไป อาจจะทำให้กล้วยชะงักการเจริญเติบโตได้ การปลูกกล้วยด้วยหน่อนั้นถ้าต้องการให้กล้วยออกเครือในทิศทางเดียวกัน ก็ให้ปลูกโดยหันรอยแผลของหน่อไว้ในทิศทางเดียวกัน ต้นกล้วย ก็จะออกใน ทิศทางตรงกันข้ามกับรอยแผลเหมือนกันหมดซึ่งจะสะดวกต่อการตัดเครือ ในภายหลัง            
        การปลูก ต้นกล้วย ด้วยเมล็ด วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมกันมากนักเหมาะกับกล้วย บางชนิดเท่านั้นอาจใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เคยทำกันมาแต่ก่อน ด้วยการเพาะเมล็ดพันธุ์ในกระทงใบกล้วย กระบอกไม้ไผ่ หรือเพาะบนแปลงทดลองหลังจากต้นอ่อนเติบโตสูงได้ประมาณ 1 ฟุต ก็แยกลงหลุมปลูกต่อไป
        การปลูก ต้นกล้วย โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะเป็นที่นิยม กันมากในอนาคต เพราะสามารถขยายพันธุ์กล้วยได้เป็นจำนวนมาก ได้กล้วยพันธุ์แท้ และคุณภาพดี เราอาจจะใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทดลองการเพาะเนื้อเยื่อตามกระบวนการหรือติดต่อขอซื้อต้นพันธุ์ จากหน่วยงานทางการเกษตรที่เพาะเนื้อเยื่อมาปลูกได้
     หลังจากปลูกต้นกล้วยกล้วยในบริเวณพื้นที่ ที่เตรียมไว้แล้วสิ่งที่ต้องเอาใจใส่ ่ก็คือการให้น้ำต้นกล้วยอย่างเพียงพอแต่อย่าให้น้ำท่วมขังเพราะจะทำให้ รากของกล้วยเน่าได้ปุ๋ยที่ให้ควรเป็นปุ๋ยธรรมชาติหากกล้วยสมบรูณ์ดี ก็จะออกเครือหลังจาการปลูกประมาณ 8-12 เดือนก่อนออกเครือ กล้วยจะแทงหน่อจำนวนมาก เราต้องทำลายหน่อทิ้ง เว้นไว้เพียง 1-2 หน่อ ก็พอเพื่อไม่ให้แย่งอาหารแต่ข้อระวังอย่าขุดแยกหน่อในขณะกล้วยออกเครือ เด็ดขาด จะทำให้ผลกล้วยเติบโตไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ก็คอยทำลายวัชพืช และดูแลสวนกล้วยให้โล่งเตียน
โรคของกล้วยที่ควรระวังก็คือ โรคตายพราย โรคยอดม้วน โรครากเน่า  และพวกหนอนแมลงต่าง ๆ ที่จะทำลายลำต้น ใบและผลของกล้วยได้ แต่ถ้าหากเราให้น้ำและปุ๋ยเพียงพอ ต้นกล้วยจะแข็งแรงไม่ค่อยมีโรค

       ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเครือกล้วยมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากจะต้องหาไม้มาค้ำก้านเครือกล้วยเพื่อช่วยรับน้ำหนัก ไม่ให้ก้านเครือกล้วยหักก่อนที่ผลเครือกล้วยจะแก่ 

        ต้นกล้วย จะเห็นว่ากล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกง่าย ใช้เวลาสั้น มีประโยชน์มากมาย กินก็ได้ ขายก็ได้ เรามาลองปลูกกล้วยกันเถอะ



ประโยชน์ของกล้วย  
       เราคงจะไม่ปฏิเสธว่า "กล้วย" เกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง สิ้นอายุขัย...
      ในสมัยโบราณ เมื่อสตรีจะคลอดบุตรมักจะมีการจัดเครื่องบูชาสำหรับหมอตำแยเพื่อทำพิธีกรรมที่เป็น มงคลแก่แม่ และลูกที่จะคลอดออกมา เครื่องบูชามักจะประกอบด้วย ขันข้าว ซึ่งบรรจุด้วยข้าวสาร เงิน และสิ่งของต่าง ๆ ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน และในจำนวนนี้จะต้องมีกล้วยอยู่เสมอ
      เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 3 เดือน และพร้อมที่จะรับประทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่ได้แล้ว แม่จะเริ่มให้ลูกรับประทานกล้วยควบคู่กับนม เพราะเห็นว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย
      เมื่อลูกโตขึ้น แม่ก็จะพยายามประดิษฐ์ของเล่นให้ลูก ของเล่นเหล่านั้นส่วนหนึ่งก็มาจากกล้วย เป็นต้นว่า
·         นำก้านกล้วยมาทำเป็นปืนเด็กเล่น                        
·         นำก้านกล้วยมาทำเป็นม้าสำหรับขี่
·         นำใบตองมาม้วนทำเป็นปี่สำหรับเป่า
·         นำหยวกกล้วยมาทำเป็นทุ่น หรือแพ สำหรับหัดว่ายน้ำ
     ในวัยศึกษาเล่าเรียน กล้วย ก็เข้ามาสู่ห้องเรียนในลักษณะต่าง ๆ เช่น
·         ผูกเป็นปริศนาให้ทาย เช่น  "อะไรเอ่ย ต้นเท่าขา ใบวาเดียว"
·         ใช้เปรียบเทียบกับความงามของสุภาพสตรีในวรรณคดี เช่น  "เรื่องกามนิต-วาสิฏฐี ที่ว่า ขาเธองามดุจลำกล้วย"
·         ใช้ในคำพังเพยเปรียบเทียบการทำลายล้างเผ่าพันธุ์อย่างถอนรากถอนโคลน    "โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก"
·         ใช้ในสำนวนหรือคำพังเพยแสดงความหมายว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ เช่น  ง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก     เรื่องกล้วย ๆ กล้วยมาก
     ตลอดช่วงชีวิตมนุษย์  สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกล้วย เช่น  ใช้เป็นอาหารคาว หวาน  ใช้ประดิษฐ์เป็ฯของใช้  ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรค
     ในงานบวช และงานมงคลต่าง ๆ  กล้วย มักจะถุนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของงานในลักษณะต่าง ๆ เสมอ เช่น
·         ใบตองกล้วย  ถูกนำมาใช้ประดิษฐ์เป็นบายศรีเป็นส่วนประกอบ ของพวงมาลัย
·         ก้านกล้วย และใบตอง  นำมาใช้เป็นกระทง 
·         กล้วยทั้งเครือ นำมาประดับบ้าน เวลามีงานมงคล
     เมื่อถึงคราวที่หนุ่ม สาวจะเข้าสู่พิธีแต่งงานกล้วยจะเป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่มักจะนำมาใช้ เป็นส่วนประกอบของงานเสมอ เช่น
·         ใช้ต้นกล้วยเป็นส่วนประกอบในขบวนแห่ขันหมาก
·         ใช้ผลกล้วย ใบกล้วย ก้าน และหยวกกล้วย เป็นส่วนประกอบในการประกอบพิธีการต่าง ๆ
     ในการปลูกสร้างบ้านเรือนกล้วยจะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำพิธียกเสาเอกลงหลุมโดยเขามัก จะใช้หน่อกล้วยและต้นอ้อยผูกไว้ที่ปลายเสาเอกและเมื่อทำพิธียกเสาลงหลุมเสร็จก็จะปลดเอาหน่อกล้วย และต้นอ้อย ไปปลูกไว้ในบริเวณใกล้บ้าน พยายามประคับประคองให้เจริญงอกงามเพราะถือว่าเป็น เครื่องเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ของเจ้าของบ้าน 
      จวบจนกระทั่ถึงวาระสุดท้ายของชีวิต มนุาย์เราก็ยังเกกี่ยวข้องกับกล้วยอย่างมิเสื่อมคลาย ในสมัยก่อน เขามักใช้ใบตองมารองศพ ใช้ต้นกล้วยมาสลักหยวก(แทงหยวก) ประดิษฐ์ในเมรุ หรือโลงศพ ใช้ต้นกล้วย ใบตอง ทำฐานเสียบดอกไม้ประดับในงานศพ "กล้วยเจ้าเอ๋ย...เจ้ามิเคยห่างหายไปจากข้าเราผูกพันกับเจ้า ตลอดมา และตัวข้าจะลืมเจ้าได้ฉันใดเล่าเพื่อนเอย"



ที่มาและความสำคัญ
สมัยก่อนตำบลคูเต่า  มีการปลูกต้นกล้วยไว้มากมาย  เพื่อนำส่วนต่างๆไปใช้ประโยชน์  เช่น  ใบนำไปทำกระทงหรือใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร  ผลกล้วยและหยวกนำไปทำอาหาร  เป็นต้น  ภายหลังมีการปลูกต้นกล้วยเพิ่มมากขึ้นชาวบ้านจึงคิดที่จะทำประโยชน์จากต้นกล้วยเพิ่มขึ้นจึงนำกาบกล้วยมาตากแห้งและแปรรูปมาเป็นเครื่องใช้สอยต่างๆ เช่น  กระเป๋า  รองเท้า  กล่องใส่กระดาษทิชชู่  เป็นต้น  และมีการทำกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน  แต่ปัจจุบันนี้เด็กวัยรุ่นยุคนี้ไม่ค่อยที่จะเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นของการสานเชือกกล้วย
กลุ่มของข้าพเจ้าจึงเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสืบสานการสานเชือกกล้วย  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้คงอยู่ต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อศึกษาเรื่องภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับเชือกกล้วย
2.เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจ


ขอบเขตของการทำโครงงาน
การศึกษาการสานเชือกกล้วยในครั้งนี้ศึกษาเฉพาะการนำเอากาบกล้วยมาแปรรูปเป็นเชือกกล้วยซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านหัวควาย  หมู่ที่ 9 ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา เท่านั้น  กำหนดเวลาที่ใช้ในการศึกษาคือ  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2553  โรงเรียนวรนารีเฉลิม  จังหวัดสงขลา 

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
ทำให้ทราบถึงกระบวนวิธีการต่างๆ  ตั้งแต่การทำเชือกกล้วยจนถึงการสานเชือกกล้วยและได้นำความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงานนี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และ เผยแพร่ให้ผู้สนใจโดยทั่วไป


 
วิธีการดำเนินงาน
       สถานที่ศึกษา

-จุดถ่ายทอดความรู้เรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์เชือกกล้วย เลขที่ 52 บ้านหัวควาย ม.9 ต.คูเต่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาโทร.074-470-271 


วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
อุปกรณ์ในการทำเชือกกล้วย
อุปกรณ์ในการสานเชือกกล้วย
        1.มีดพร้าและมีดเล็กๆ
        2.โอ่งสำหรับอบ
        3.กำมะถัน
        4.แล๊กเกอร์
        5.กรรไกร
        1.เชือกกล้วย
        2.แบบ
        3.เข็ม
        4.ไม้วัด
        5.มีด
        6.เครื่องรีด



วิธีการทำเชือกกล้วย
        1.ตัดต้นกล้วยที่ออกปลีแล้วตามขนาดที่ต้องการ
        2.แกะออกเป็นกาบๆ
        3.กรีดออกเป็นเส้นๆ
        4.ตากแดดประมาณ 5 วัน (แดดดีๆ)
        6.อบกำมะถันในโอ่งประมาณ 1วัน 1 คืน
        7.นำมารีดกับเครื่องรีดแล้วขึ้นแบบต่างๆ
        8.เสร็จแล้วนำไปตากแดด
        9.ทาแล๊กเกอร์แล้วนำไปตากแดดอีกครั้งหนึ่งเป็นอันเสร็จ


ผลการศึกษาค้นคว้า
       จากที่ได้ศึกษาโครงงานเรื่องเชือกกล้วยหรรษาก็ได้รู้และเข้าใจในกระบวนการวิธีการต่างๆ ในการทำเชือกกล้วยและการสานและได้รู้เกี่ยวกับประโยชน์ของเชือกกล้วยและต้นกล้วยที่สามารถนำความรู้ตรงนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเราได้

สรุปและข้อเสนอแนะ
       สรุปการศึกษา
        จากที่ได้ศึกษาโครงงานเรื่องเชือกกล้วยหรรษาผลการศึกษาพบว่า การนำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านหัวควายที่รู้จักหาประโยชน์จากต้นกล้วยจนสามารถสร้างอาชีพ  สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมาย

       ข้อเสนอแนะ
        - ควรมีการทดลองนำใยพืชอื่นๆ มาแปรรูปเป็นงานสาน

เอกสารอ้างอิง
www.dsc.ac.th/inweb/student_job/ann/banana4.htm เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับต้นกล้วย
www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/musa.html   เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับประโยชน์ของต้นกล้วย
www.thanu-st.com/index.      เกี่ยวกับรูปภาพของต้นกล้วย