ก้อเปงด้ายแค่คนไม่เอานั๋ย

ก้อเปงด้ายแค่คนไม่เอานั๋ย

3.มามีส่วนร่วมกันเถอะ


การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
          การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสามารถปฏิบัติได้หลายวิธีดังต่อไปนี้          1.  จัดให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยจากคนรุ่นเก่าสู่คนรู่นใหม่  เช่น  การอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านทั้งลำตัด  เพลงฉ่อย  เพลงเรือ  ด้วยการจัดชมรมประจำท้องถิ่น  หรือการเชิญพ่อเพลงแม่เพลงในชุมชนมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นหลัง  หรือจัดกิจกรรมขึ้นในโรงเรียน  เป็นต้น          2.  เปลี่ยนแปลงค่านิยมของคนในสังคมที่ละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย  เช่น  ควรส่งเสริมการศึกษาและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรไทย  เช่น  ที่โรงพยาบาลอภัยภูเบศร  จังหวัดปราจีนบุรี  ได้นำสมุนไพรต่าง ๆ มาสกัดเป็นยารักษาโรค  เครื่องสำอาง  ขายให้กับประชาชนทั้วไป  เป็นต้น          3.  ร่วมกันทำให้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง  ไม่ใช่เป็นเพียงการจัดแสดงหรือรณรงค์เป็นบางช่วงเท่านั้น  เช่น  บางท้องถิ่น  บางหน่วยงานรณรงค์ให้คนในท้องถิ่นหรือในหน่วยงานแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากผ้าพื้นเมือง  ก็ควรหาแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับคนทุกวัย  ทุกสาขาอาชีพ  ราคาย่อมเยา  ไม่ควรให้คนรุ่นใหม่คิดว่าการแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองเป็นความเชย  ดูแลรักษายาก  ราคาแพง  และเป็นเครื่องแต่งกายเฉพาะผู้สูงอายุหรือใช้แต่งเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่านั้น          4.  สร้างจิตสำนึกให้คนไทยเห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย  เช่น  ส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชนรักษากิริยามารยาทแบบไทย  เช่น  มีสัมมาคารวะ  เคารพผู้ใหญ่  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  และรักนวลสงวนตัว  รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งการพูดและการเขียน  เช่น  รณรงค์ให้พูดออกเสียงภาษาไทยให้ชัดเจน  ไม่พูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ  เป็นต้น

การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย
              เนื่องจากภูมิปัญญาไทยมีความสำคัญดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ดำรงอยู่ เพื่อเป็นฐานความรู้ในการผสมผสานกับวิทยาการสากล ดังนี้
              1. ประเทศยกย่อง "ครูภูมิปัญญาไทย" ให้สามารถทำการถ่ายทอด และพัฒนาผลงานของตนได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ โดยจัดระบบเกื้อหนุนและส่งเสริมกระบวนการถ่ายทอด ที่ท่านเหล่านี้ดำเนินการอยู่แล้วส่วนหนึ่ง และเชื่อมโยงกระบวนการถ่ายทอดของท่าน
             2. จัดให้มีศูนย์ภูมิปัญญาไทย ซึ่งแนวคิดนี้ต้องการให้มีแหล่งสำหรับการเรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชนนั้นๆ เกิดขึ้น อาจเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วในชุมชน เช่น บ้านของผู้ทรงภูมิปัญญา วัด ศาลาของหมู่บ้าน เวทีชาวบ้าน เป็นต้น เพียงแต่เข้าไปช่วยเสริมเพื่อให้สามารถใช้สถานที่นั้นๆ
             3. จัดตั้งสภาภูมิปัญญาไทย เนื่องจากลักษณะภูมิปัญญาไทยมีความหลากหลายสมดุลกันเป็นองค์รวม หากนำเรื่องภูมิปัญญาไทยเข้าไปไว้ในกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง หรือกรมใดกรมหนึ่ง นโยบายของกระทรวงและกรมนั้น จะเป็นตัวกำหนดกรอบของภูมิปัญญาไทยให้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่อง
            4. จัดตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ด้วยความจำกัดของระบบการจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาล ที่มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและระยะเวลา รวมทั้งสภาวการณ์ของประเทศมาเป็นตัวตัดสินว่า โครงการ/งานใดควรได้รับ งบประมาณเท่าใด และจะได้รับเงินในปีถัดไปหรือไม่ ทำให้การดำเนินงานส่งเสริมภูมิปัญญาไทยซึ่งต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง
            5. การคุ้มครองลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทย เพื่อให้ภูมิปัญญาไทยอันเป็นมรดกทางปัญญาของแผ่นดินได้อยู่คู่กับคนไทย เป็นทุนทางปัญญาในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง วัฒนธรรม การสงวนและรักษามรดกทางภูมิปัญญาดังกล่าว จึงต้องมีระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางภูมิปัญญาเกิดขึ้น
           6. ตั้งสถาบันแห่งชาติว่าด้วยภูมิปัญญาและการศึกษาไทย เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญมากในการทำงานต่อภาพพจน์และสถานภาพของบุคคล หน่วยงาน/องค์กร/สถาบันต่างๆ การส่งเสริมภูมิปัญญาไทยนั้นยิ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก
           7. การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยทั้งในระดับชาติและระดับโลก


การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย
           1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน
            2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย
           3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม
           4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
           5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ 
           6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
           7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
           8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ